[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนวชิรานุกูล
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ

Close
:) :D :(
:o :p ;)
:| x( :~
(ตัวแสดงอารมณ์)

link banner
e-Learning

พยากรณ์อากาศ
 


  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ค้นพบที่โคราช! ฟอสซิลปลาอายุ 115 ล้านปี พันธุ์ใหม่ของโลก ในแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์  VIEW : 298    
โดย 99

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 666
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 20
Exp : 94%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 149.28.146.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 9 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 12:52:57    ปักหมุดและแบ่งปัน

โคราชค้นพบ “โคราชเอเมีย ภัทราชันไน” ฟอสซิลปลาพันธุ์ใหม่อายุ 115 ล้านปี พันธุ์ใหม่ของโลก ในแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์

ที่ศูนย์การค้าเซนทรัลโคราช อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เปิดงาน มหกรรมจีโอพาร์คและฟอสซิล (Geopark and Fossil Festival 2023) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระสำคัญของจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับการพิจารณาเป็นจีโอพาร์คโลก Khorat Global Geopark จากองค์กรยูเนสโก เป็นการยกระดับการทำงานเครือข่ายของอุทยานธรณีประเทศไทย

การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านจีโอพาร์ค และการท่องเที่ยว Geotourism ตลอดจนการประชาสัมพันธ์จีโอพาร์คประเทศไทย พร้อมทั้งพัฒนากลไก การขับเคลื่อนอุทยานธรณีในประเทศไทย ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ ในจังหวัดนครราชสีมาและภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2566

นอกจากนี้ยังได้มีการแถลงข่าว การค้นพบฟอสซิล ปลาพันธุ์ใหม่ของโลกอายุ 115 ล้านปี “โคราชเอเมีย ภัทราชันไน” และพันธุ์พืชโบราณชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิดในแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ ที่บ้านโกรกเดือนห้า ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินฯ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งการวิจัยดำเนินการโดย ผศ.ดร.อุทุมพร ดีศรี จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ, พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ฟูกุอิ ประเทศญี่ปุ่น , มหาวิทยาลัยเจนีวา และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติกรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ซึ่งการค้นพบครั้งนี้มีผลการวิจัยว่า ฟอสซิลปลาดังกล่าว เป็นปลากระดูกแข็งก้านครีบอ่อน คล้ายสกุลเอเมีย (Amia) แต่เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คณะผู้วิจัยจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ปลาภัทราชัน” หรือชื่อวิทยาศาสตร์ โคราชเอเมีย ภัทราชันไน (Khoratamia phattharajani)

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ที่เป็นกษัตริย์ ผู้ทรงเชี่ยวชาญเรื่องปลาและรักปลา ทั้งนี้คำว่า“ ภัทราชัน” มาจากคำว่า “ภัทร+ราชัน” อันหมายถึง “พระภัทรมหาราช” ที่ประชาชนถวายพระราชสมัญญานามแด่รัชกาลที่ 9http://redtrav.com