[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนวชิรานุกูล
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ

Close
:) :D :(
:o :p ;)
:| x( :~
(ตัวแสดงอารมณ์)

link banner
e-Learning

พยากรณ์อากาศ
 


  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
เปิดประสบการณ์โลกใต้ทะเล  VIEW : 536    
โดย เบนซีม่า โลชั่น

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 171.99.154.xxx

 
เมื่อ : เสาร์์ ที่ 23 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2565 เวลา 17:32:00    ปักหมุดและแบ่งปัน



[ คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดจริง ]

เปิดประสบการณ์โลกใต้ทะเล


เซอร์วิสฉบับนี้เรายังคงอยู่กับเรื่องของน้ำ แต่คราวนี้เราจะพาคุณดำดิ่งลงไปเปิดประสบการณ์โลกใต้ท้องทะเลกับการเรียนดำน้ำแบบ Scuba Diving ซึ่งนับว่าเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจไม่

น้อยในช่วงฤดูร้อนนี้จริงอยู่หากใครจะมโนภาพว่าการดำน้ำเป็นเรื่องอันตราย แต่นั้นเป็นเรื่องสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนดำน้ำมาก่อน ถ้าอยู่ๆจะหยิบเอาอุปกรณ์ดำน้ำคาบใส่ปากแล้วโดดลงทะเลต้องเข้าใจก่อนว่าการดำน้ำไม่เหมือนการเตะฟุตบอล ที่ใครก็ตามสามารถไปเช่าสนามเล่นได้ แต่การดำน้ำแบบ

Scuba (Self Contained Underwa- ter Breathing Apparatus) จะต้องมีบัตรที่เรียกว่า Diver Card สำหรับเช่าอุปกรณ์และซื้อทริปดำน้ำ และที่สำคัญต้องเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นอย่างปลอดภัยมาโดยเฉพาะ ทั้งยังจะต้องเรียนรู้ทฤษฎีฟิสิทส์สำหรับการดำน้ำเรียนรู้เรื่องแรงกดดัน อันตรายต่างๆที่

จะเกิดขึ้นระหว่างการดำน้ำรวมถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทั้งหมดที่กล่าวมาคร่าวๆ คือสิ่งที่คุณ

จะต้องเรียนและสอบภายใต้การดูแลการสอนจากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสอนดำน้ำเท่านั้นจึงจะสามารถออกบัตรดำน้ำได้แล้วหลักจากนั้น กิจกรรมที่ดูอันตรายก็จะเป็นเรื่องราวที่สนุกตื่นเต้นในสายตาคุณ

ครั้งนี้เราจึงมีนัดกับ สุทัศน์ วงศ์วิเศษ กุล หรือครูอ๊อด PADI Instructor จาก Wahoo Diving Center สถาบันสอนดำน้ำที่ได้รับการรับรองจาก PADI ให้เป็น PADI 5 Star Instructor Development

Center ซึ่งจะมาแนะนำการเรียนดำน้ำ Scuba ให้เราได้รู้จักกันสำหรับหลักสูตรที่เราจะมาทำความรู้จักกันในวันนี้คือ Open Water Diver หลักสูตรดำน้ำสากล สำหรับผู้ที่สนใจอยากเรียนดำน้ำ ซึ่งถือเป็นบันไดขั้นแรกใน การก้าวเข้าสู่โลกใต้น้ำการเรียนในคอร์สนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือการเรียนภาคทฤษฎีประมาณ 10 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติในสระว่ายน้ำประมาณ 10 ชั่วโมง ปิดท้ายด้วยการฝึกปฏิบัติจริงในทะเลระดับความลึกไม่เกิน 18 เมตร ซึ่งจะทำการฝึกทั้งหมด 4 ครั้งภายในระยะเวลา 2 วัน


เรียนรู้ทฤษฎีก่อนสัมผัสประสบการณ์ใต้น้ำ


ทุกวินาทีที่อยู่ใต้น้ำหมายถึงชีวิตดังนั้นก่อนที่เราจะแบกอุปกรณ์หนักอึ้งลงทะเลจึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับทฤษฎีเบื้องต้นของการดำน้ำกันเสียก่อนซึ่งแบ่งออกเป็น 5 บท้ ตั้งแต่การทำความเข้าใจอุปกรณ์ดำน้ำทุกชนิด การใช้งาน วิธีการเลือกใช้ การบำรุงรักษา รวมถึงฟิสิกส์เบื้องต้น เกี่ยวกับความกดอากาศ การจม ลอยแสง สี เสียง เพราะสิ่งที่เราจะต้องเจอใต้น้ำนั้นล้วนเป็นอุปสรรคที่นักดำน้ำมือใหม่จะต้องเจอและรู้จักวิธีรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมใต้ทะเล สัตว์ได้ทะเลการระมัดระวัง การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมใต้ทะเลการป้องกันและแก้ไข เมื่อมีเหตุฉุกเฉินภาคทฤษฎีจะต้องทำความเข้าใจกันในห้องเรียนโดยผู้สอนจะทำการบรยายสรุปในแต่ละบทเรียน พร้อมฉาย DVD ของแต่ละบท แล้วทำแบบทดสอบความเข้าใจพร้อมกัน เมื่อเสร็จสิ้นแต่ละบทจะต้องทำแบบทดสอบอีกครั้งเพื่อทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด วิธีการเรียนแบบนี้จะใช้เวลานานประมาณ

บทละ 2 ชั่วโมง ใช้เวลารวม 10 ชั่วโมงใครที่ไม่สะดวกในการเดินทางมาเรียนอาจเลือกเรียนทฤษฎีด้วยตนเอง โดยทางร้านจะให้คู่มือ PADI OpenWater Manual รวมทั้ง DVD ให้กลับไปศึกษาเองก่อนนัดวันมาเรียนในส่วนอื่นๆต่อไป การเรียนวิธีนี้จะประหยัดเวลาเรียนลงไปมาก ใช้เวลาทบทวนและสอบประมาณ 2-3 ชั่วโมงก็จะจบทั้ง 5 บท นอกจากนี้ยังมีการเรียน PADI E-Learning ผ่านทางอินเตอร์เน็ตวิธีนี้


จะต้องสมัครเรียนผ่านทาง PADI Website ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่างหาก จากนั้นจะเป็นการเรียนแบบ Interactive กับระบบโดยมีจำนวนบทเรียนเท่ากันคือ 5 บท โดยมีทั้งภาพและเสียงเหมือนการเรียนในห้องเรียนและมีการทำแบบทดสอบความเข้าใจรวมทั้งการสอบข้อเขียน จนเสร็จสิ้นได้ในตัวโดยไม่ต้องมาสอบกับผู้สอนอีก จากนั้นจึงสามารถเลือกได้ว่าต้องการที่จะเรียนต่อในภาคปฏิบัติในสระและออกฝึกภาคทะเลกับร้านใดทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาคทฤษฎีด้วยวิธีไหน หลังจากจบทั้ง 5 บทแล้วจะมีการสอบข้อเขียนอีกครั้งจำนวน 50 ข้อ เกณฑ์ผ่านต้องทำให้ถูกอย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้สอนจะต้องรีวิวข้อสอบที่นักเรียนทำผิดทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์





เรียนรู้อุปกรณ์ก่อนออกทะเลจริง


หลังจากการเรียนในคลาสจบก็ถึงเวลาฝึกภาคปฏิบัติ ใน Confined Water ซึ่งหมายถึงสภาวะแหล่งน้ำที่มีขอบเขต อาจจะเป็นอ่าวหรือหาดเล็กๆที่มีน้ำนิ่ง ก็สามารถฝึกได้ แต่โรงเรียนสอนดำน้ำส่วนใหญ่จะเลือกใช้สระว่ายน้ำ ในการปฏิบัติจะแบ่งออกเป็น 5 บท แต่ก่อนอื่นจะมีการทดสอบความสามารถกันก่อนด้วยการโชว์ทักษะว่ายน้ำตัวเปล่าระยะ 200 เมตร ใครไม่ไหวก็มี อีกออพชั่นหนึ่งคือว่ายน้ำ 300 เมตร โดยใช้หน้ากาก ตีนกบท่อหายใจ บิดท้ายด้วยการทดสอบให้ผู้เรียนลอยตัวที่ผิวน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเป็นเวลา 10 นาทีเมื่อโซว์ความสามารถให้ผู้สอนได้รับทราบถึงความสามารถของแต่ละคนกันแล้ว จากนั้นก็จะเริ่มฝึกการประกอบ และถอดอุปกรณ์ การตรวจสอบอุปกรณ์ของตัวเองและบัดดี้ ท่าลงน้ำในสถานการณ์แตกต่างกัน การหายใจใต้น้ำ การใช้ตีนกบอย่างถูกวิธี การปรับการจมลอยในแบบต่างๆ และการปฏิบัติตัวในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินใต้น้ำในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งหมดคือความรู้เบื้องต้นที่ผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้องทุกขั้นตอนนอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษที่จะต้องฝึก

ทั้งหมดประมาณ 20 สกิล (Skil) ในสภาวะใต้น้ำ อาทิการถอดอุปกรณ์ใต้น้ำ การฝึกการใช้งานเร็กกูเลเตอร์หรือเครื่องป้อนอากาศของบัดดี้ เป็นต้นใครที่คิดว่าจะยากไปหรือเปล่าสำหรับการลงน้ำครั้งแรก ไม่ต้องห่วงเลยครับเพราะผู้สอนจะทำการสาธิตการทำสกิลให้ผู้เรียนดูก่อน หลังจากนั้นจะให้ปฏิบัติตาม

ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องผู้สอนจะทำการแก้ไขและให้ปฏิบัติใหม่จนกระทั่งผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องจนมีความชำนาญจนมั่นใจแล้วจึงสามารถออกไปฝึกปฏิบัติภาคทะเลได้


เปิดประสบการณ์ใต้ทะเลครั้งแรก


ภาคปฏิบัติในทะเลจะแบ่งออกเป็นการลงดำน้ำ 4 ครั้ง (Dives) ภายใน 2 วัน โดยการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลที่เรียกว่า Open Water นี้จะเป็นการนำสกิลที่ฝึกจนชำนาญแล้วจากการฝึกในสระ ออกไปลองปฏิบัติในสภาพน้ำทะเลจริงเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมจริงของทะเล ที่มีความแปรปรวนทั้งคลื่นกระแสน้ำ ความขุ่นของน้ำ ล้วนเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งกับการลงทะเลเป็นครั้งแรก รวมถึงความตื่นตาตื่นใจกับการมองเห็นโลกใต้ท้องทะเลเป็นครั้งแรก บางคนตื่นเต้นด้วยกับความแปลกของโลกใต้น้ำรวมถึงความระแวงในความลึกและความเวิ้งว้างของทะเล นั้นก็ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่มือใหม่จะต้องเอาชนะแต่สำหรับคนที่รักการผจญภัย โลกใต้ทะเลนั่นคือความแปลกประหนึ่งโลกอีกใบที่มีสิ่งต่างๆรอบตัวให้ได้เรียนรู้มากมายก่อนลงทะเลผู้ฝึกสอนหรือไดฟ์มาสเตอร์จะแนะนำให้เรารู้จักกับสภาพแวดล้อมในบริเวณที่จะทำการดำน้ำว่ามีความลึก หรือสภาพพื้นผิวเป็นเช่นไร รวมถึงสภาพของกระแสน้ำที่จะต้องเจอ เมื่อทำความรู้จักกับพื้นที่แล้วอุปกรณ์นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทุกครั้งก่อนลงน้ำ ถังอากาศ BCD เรกูเลเตอร์ ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ผู้ดำน้ำจะต้องตรวจเช็คด้วยตนเองรวมถึงตรวจเช็คให้กับบัดดี้ของเรา

เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ถึงเวลาเติมอากาศเข้าไปใน BCD ให้เต็มจากนั้นใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งก้าวลงทะเล หลายคนเคยเห็นในหนังกับท่านั่งตีลังกาลงน้ำกรณีนี้จะใช้กับเรื่อยางเท่านั้นเนื่องจากพื้นที่มีจำกัด เมื่อลอยคออยู่ในทะเลพร้อมบัดดี้เรียบร้อย ผู้ฝึกสอนจะให้สัญญาณในการลงสู่ให้น้ำโดยการปล่อยลมออกจาก BCDสกิลที่จะนำมาทบทวนในการฝึกภาคทะเลนี้ไม่ได้นำมาหมดทุกสกิลที่ฝึกในสระแต่จะเน้นให้ผู้ฝึกอยู่ใต้น้ำในสภาวะไร้น้ำหนักหรือการทำ Buoyancy WeightCheck กล่าวให้เข้าใจง่ายๆคือเราสามารถลงสู่ใต้น้ำได้โดยใช้ตะกั่วถ่วง และสามารถลอยได้โดยการเติมลมเข้าไปใน BCD การลอยตัวใต้น้ำในสภาวะไร้น้ำหนักคือการทำให้ร่างกายเป็นกลางโดยการเติมลมเข้าไปใน BCD เพียงเล็กน้อยเพื่อต้านแรงกดของตะกั่ว ในขณะที่หายใจเข้าตัวจะลอยขึ้นนิดๆ หายใจออกก็จมลงเล็กน้อย นั้นหมายถึงว่าเราสามารถทำBuoyancy เสร็จเรียบร้อยแล้ว หากคุณทำได้ถูกวิธี การดำน้ำจะเป็นอะไรที่ไม่ต้อง

ออกแรงอะไรมาก นักดำน้ำที่มากประสบการณ์จะรู้ว่าการลอยเป็นกลางเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การดำน้ำง่ายขึ้นทั้งนี้เมื่อควบคุมการลอยตัวของคุณดีแล้ว การเรียนรู้ทักษะอื่นๆ เช่น การทรงตัว การเคลื่อนไหว ก็จะเป็นเรื่องง่ายนอกจากนี้ยังช่วยให้คุณไม่ไปกระทบกระแทกแนวปะการังและ สิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัยที่คุณไปดำน้ำเมื่อลงไปใช้ชีวิตใต้น้ำได้แล้วสิ่งที่นักดำน้ำมือใหม่จะต้องเจอเป็นอันดับแรกคือ

อาการปวดหู เนื่องจากแรงดันภายนอกมี




รู้จักอุปกรณ์สำหรับดำน้ำแบบ Scuba


ㆍถังอากาศ (Tank) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งอากาศให้เราในขณะที่อยู่ใด้น้ำ ภายในบรรจุอากาศแรงดันสูง 200 บาร์ หรือประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว คิดเป็น 100 เท่าของแรงดันล้อรถยนต์ทั่วไป ซึ่งเป็นอากาศธรรมดาเหมือนที่เราหายใจทั่ว ไม่ใช่ก๊ซออกชิเจนอย่างที่หลายคนเข้าใจ อากาศในถังสามารถใช้งานใด้น้ำได้ประมาณ 40-50 นาทีโดยประมาณ


ㆍ BCD (Buoyancy Control Device) เสื้อซูชีพสำหรับนักดำน้ำ ใช้สำหรับการควบคุมระดับการ

ลอยจมได้น้ำ


ㆍ เร็กกูเลเตอร์ (Regulator) หรือ Octopus สายส่งอากาศจากถังอากาศไปให้นักดำน้ำหายใจจะมีเส้นสำหรับหายใจ สองเส้นแบ่งเป็นเส้นหลักและเส้นสำรอง


ㆍหน้ากากดำน้ำ (Mask) ควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของหน้านักดำน้ำ สำหรับวิธีการเลือกหน้ากากดำน้ำนั้นให้ลองเอามาสวมและสูดลมหายใจเข้า หากหน้ากากไม่หลุดและอากาศจากภายนอกไม่รั่วเข้ามาถือว่าใช้ได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตา สามารถซื้อหน้ากากที่มีการใช้เลนส์สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาได้


ㆍตะกั่ว ใช้สำหรับถ่วงให้ตัวจมลงไปในน้ำ เวลาใช้งานจะถูกร้อยเป็นเข็มขัด นักดำน้ำแต่ละคนจะใช้จำนวนของตะกั่วในการถ่วงไม่เท่ากัน ทั้งนี้ควรเช็คกับ Dive Master หรือผู้สอนให้ทำการวัดว่าที่เหมาะสม


ㆍเว็ทสูท (Wet Suit) ชุดสำหรับดำน้ำมีรูปแบบความหนาที่แตกต่างกัน ยิ่งชุดหนาเท่าไหร่จะทำให้ร่างกายอบอุ่นเท่านั้น ทั้งนี้ควรเลือกความหนาให้เหมาะสมกับสภาพอุณหภูมิ และขนาดที่พอดีกับตัวเราไม่เล็กหรือหลวมเกินไป


ㆍดีนกบ (Fins) มีสองแบบที่ไดรับความนิยมคือแบบสายรัดปรับได้ และแบบใส่ครอบทั้งสัน นักดำน้ำสามารถเลือกได้ตามความชอบความเปลี่ยนแปลง และในขณะที่เรากำลังดำดึ่งสู่ความลึก แรงดันของน้ำปริมาณมหาศาลจะสร้างแรงผลักในโพร่งหูของคุณทำให้ Ear Drum โย้เข้าไปในหูชั้นกลางนั่นจึงเป็นที่มาของอาการปวดหูสำหรับทางออกมีอยู่หลากหลายวิธีอย่างเช่น การกดจมูกแล้วเป่าลมออกหูอย่างเบาๆ การขยับกรามช้าๆ หรือหาวไปด้วยระหว่างดำดิ่งลงไป วิธีการเคลียร์หูต่างๆ ที่ว่ามาจะช่วยระบายความดันระหว่างภายนอกผิวน้ำ และภายในร่างกายของคุณได้อย่างสมดุลในแต่ละระดับความลึกที่ลงไป เมื่อใดที่รู้สึกได้ถึงแรงกดที่หู ก็ควรหมั่นเคลียร์หูอย่างสม่ำเสมอจะทำให้คุณรู้สึกสบายและดำน้ำได้อย่างเพลิดเพลินใจเมื่อเรารู้วิธีกับการกำจัดปัญหาต่างๆแล้วที่นี่ก็ถึงเวลากลับเข้ามาสู่การทดสอบภาค Open Water การลงปฏิบัติจริงในทะเลครั้งนี้จะไม่มีการทดสอบใดๆ มากมายแต่เป็นเพียงการฝึกทบทวนสกิลเพื่อนำมาใช้ในการดำน้ำจริงๆ เท่านั้นเมื่อการดำน้ำทั้ง 4 ครั้งจบลงแล้วจะได้บัตร Diver Card สามารถนำไปใช้เช่าอุปกรณ์ดำน้ำตามร้านทั่วไปได้โดยมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 400 บาทโดยมีอุปกรณ์พร้อมดำน้ำลึกให้ครบ ส่วนทริปดำน้ำนั้นมีให้เลือกหลายระดับราคามีทั้งแบบวันเดียว 4 ไดฟ์ หรือจะเลือกนอน

ค้างกันบนเรือก็สามารถทำได้ สนนราคาตั้งแต่ 2 -3 พัน บาทไปจนถึงหลักหมื่นบาท Open Water นับว่าเป็นบันไดขั้นแรกของหลักสูตรดำน้ำเมื่อได้ลองสัมผัสประสบการณ์ใต้ทะเลเป็นครั้งแรกแล้ว ที่นี้ต้องถามตัวเองว่าคุณหลงรักมันมากแค่ไหนเพราะยังมีอีกหลายหลักสูตรให้คุณได้เรียนรู้เพื่อเป็นการต่อยอดกับการเป็นนักดำน้ำในระดับที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆให้ คุณสัมผัสทั้ง Advanced Open Water Diver ไปจนถึง

Dive Master

ปิดท้ายด้วยเรื่องอุปกรณ์ แน่นอนว่าการดำน้ำแบบ Scuba นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องอุปกรณ์ที่ช่วยให้คุณอยู่ใต้น้ำได้ หลายคนที่เรียนจบไปก็อยากมีอุปกรณ์เป็นของตัวเอง ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อแน่นอนว่าราคาเป็นสิ่งสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเลือกให้ดีที่สุด แต่ก็ไม่ต้องถึงขนาดว่าถูกที่สุด ช่วงเริ่มตันแนะนำให้มีเบสิคเซ็ตเป็นของตัวเองซึ่งประกอบไปด้วย หน้ากากดำน้ำ (Mask) ตื่นกบ(Fins) และท่อหายใจ (Snorkel) ควรลองสวมใส่ด้วยตัวเองเพื่อนความสะดวกสบายยามใช้งานจริง อาจจะทดลองใส่หน้ากาก และตื่นกบหลายๆอันจนกว่าจะได้อันที่เหมาะสมที่สุด ส่วนราคานั้นมีระดับพันต้นๆให้เลือกใช้ก่อน เผื่อเปลี่ยนใจจะได้ไม้ต้องเสียดายเงิน และเมื่อคิดว่าจะดำน้ำแบบจริงจังแล้วค่อยมองหา

แบบฟูลเซ็ตที่มี BCD และ Regulator ไว้เป็นของตัวเอง


คุณสมบัติเบื้องต้น


ในระดับ Open Water Diver ของผู้สนใจเรียนดำน้ำ


ㆍมีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี


ㆍ มีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคในการเรียนดำน้ำโดยสามารถตรวจสอบสุขภาพของตนเอง โดยใช้ PADI Medical Statement เป็นไกด์ไลน์เพื่อตรวจสอบว่ามีโรคใดที่เป็นอุปสรรคในการ

เรียนดำน้ำหรือไม่