ผลสรุป 8 ข้อ เจรจาเหตุเครนถล่ม 7 ศพ ที่ระยอง ตำรวจเร่งตรวจสอบหลังมือข่าวลือสะพัด ศพคนงานถูกฝังหลังโรงงาน จริงหรือเท็จ
(30 มี.ค 67) เวลา 15.00 น. ที่อาคารภายในโรงงานหลอมเหล็ก ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง หลังเกิดเหตุการณ์เครนในไซต์งานก่อสร้างถล่ม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ 6 ราย บาดเจ็บและเสียชีวิตลงในเวลาต่อมาที่โรงพยาบาล 1 ราย รวมทั้งหมดที่เสียชีวิต 7 ราย เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 29 มีนาคม 2567 การเจรจาพูดคุยเพื่อเยียวยาต่อเนื่องยาวนานข้ามวัน โดยก่อนที่จะสามารถพูดคุยเจรจาตกลงกันได้ ก็ยังมีเหตุลุกฮือของกลุ่มแรงงานเป็นระยะตลอดทั้งวัน
ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน จังหวัดระยอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าพูดคุยเจรจาหาทางออกร่วมกัน ใช้เวลายาวนานกว่า 3 ชั่วโมง เนื่องจากกรมแรงงานยังคงพูดคุยในประเด็นสิทธิสวัสดิการประกันสังคมที่ไม่เป็นธรรม และอุปสรรคจากการพูดคุย เนื่องจากโรงงานแห่งนี้มีแรงงานหลายชาติพันธุ์
จนเมื่อเวลา 15:30 น. นายกำธร เวหน รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้ตั้งโต๊ะแถลงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการช่วยเหลือเยียวยา โดยได้กล่าวแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับญาติผู้เสียชีวิตทั้ง 7 ราย
ด้าน พ.ต.อ. จิราวัฒน์ ศักดิ์ศรีวัฒนา รอง ผบก.ภ.จว.ระยอง กล่าวถึงประเด็นมีการกล่าวอ้างว่า มีการฝังศพคนงานบริเวณหลังโรงงานว่า จะต้องมีการตรวจสอบพยานและหลักฐานให้แน่ชัดอีกครั้งเนื่องจากตามที่มีข่าวออกไปก็ยังไม่แน่ชัดว่าจริงเท็จแค่ไหน และในพื้นที่เกิดเหตุทั้งหมดตอนนี้ยังไม่อนุญาตให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่แต่อย่างใด ทุกอย่างอยู่ในระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐานเพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์ในครั้งนี้
นายกำธร เวหน รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้มีการพูดคุยในการที่จะทำให้ความต้องการความเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายได้รับความพอใจตามความประสงค์ ทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้แทนบริษัท ฝ่ายหน่วยงาน และฝ่ายแรงงานญาติผู้เสียชีวิต โดยผลการหารือได้ข้อสรุป 8 ข้อ ดังนี้
1. เยียวยาให้ญาติผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย รายละ 1.6 ล้านบาท โดยวันที่ 29 มีนาคม 2567 ได้มอบเงินสดให้กับญาติของผู้เสียชีวิตไปแล้วราย ๆ ละ 5 แสนบาท คงเหลือ 1,100,000 บาท
2. นายจ้าง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ ให้กับลูกจ้างผู้เสียชีวิตทั้ง 7 ราย
3. กรณีฝ่ายลูกจ้างมีข้อเรียกร้องว่าเงินสมทบประกันสังคมที่นายจ้างหักจากลูกจ้างแต่ไม่ได้นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจะติดตามให้เป็นรายบุคคลใน 2 สัปดาห์
4. กรณีฝ่ายลูกจ้างมีข้อเรียกร้องว่าลูกจ้างประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะและยังไม่ได้รับการช่วยเหลือสำนักงานประกันสังคมจะติดตามให้นายจ้างนำส่งเอกสารเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและรายละเอียดภายใน 2 สัปดาห์http://sciencefictionfantasybooks.net
|