คืนวานในขณะที่ไปรอคุยงานย่านทาวน์อินทาวน์ ผมบังเอิญเจอข้อความนี้ “สุนัขที่ไม่เคยวิ่งจนสุดโซ่ฉันใด ย่อมไม่คิดว่าโซ่เป็นปัญหาฉันนั้น” เขียนอยู่บนโพสท์หนึ่งใน Facebook (31/3/2558) (โดยข้อความนั้นอาจเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ในที่นี้ไม่มีความเห็นหรือเกี่ยวข้องทางการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น) จึงเกิดบทความนี้ขึ้นมาที่นำมาเขียนเพราะเห็นประโยชน์จากประโยคที่มากกว่านั้น ผมเห็นว่ามันอธิบายอะไรได้หลายๆ อย่างทั้งในแง่ การทำธุรกิจ การใช้ชีวิต การมีมุมมองต่อคนอื่น หรือแม้แต่มุมมองต่อตัวเอง
จากประโยคที่ว่า “สุนัขที่ไม่เคยวิ่งจนสุดโซ่ฉันใด ย่อมไม่คิดว่าโซ่นั้นเป็นปัญหาฉันนั้น” มันคือสถานภาพของภาวการณ์ที่ “ปกติดี” และยัง “ไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนอะไร” เพราะสุนัขตัวนี้เป็นสุขดีภายใต้พื้นที่นั้น มันไม่รู้สึกว่าต้องไปไหน มีอาหารกิน มีที่นอนไปตามประสา แต่ถ้าวันหนึ่งสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน? เกิดคนให้อาหารไม่อยู่แล้ว เกิดภัยมา หรือเหตุอันใดก็ตามที่จำเป็นให้ต้องเคลื่อนที่ออกไปไกลกว่าโซ่ ในตอนนั้นเองมันถึงจะรู้สึกตัวว่า โซ่ที่ติดอยู่นั้นเป็นปัญหาเสียแล้ว.. โชคดีถ้ารู้ตัวเร็วในภาวะที่ปัญหาไม่หนักหนา โชคร้ายก็อาจไม่ทันการ หรือถึงปัจจุบันรู้ แต่ไร้ปัญญาจัดการกับโซ่นั้นก็ลำบากอยู่ดี (เออ น่าคิด)อาจคิดเลยไปได้ว่า แม้รู้ว่าโซ่คือพันธนาการ แต่ก็มีความพอใจสถานภาพนั้น มันเรียกความพอเพียงได้หรือไม่ คำตอบคือ คงไม่ เพราะมันมีความต่างตรงที่ว่า ถ้าพอเพียงและพอใจ คงไม่จำเป็นต้องมีโซ่ล่าม..
ดังที่ได้กล่าวไป ว่าเอาไปคิดได้หลายมุม หากมองไปในเรื่องของธุรกิจ เราก็จะเห็นหลาย ๆ กรณีศึกษา ถ้าว่ากันแบบที่เป็นตำนาน หรือกล่าวถึงกันเสมอ ๆ ในช่วงหลังนี้คงไม่พ้น Nokia หรือ Kodak ที่ชัดเจนว่า กว่าจะรู้ว่าโซ่นั้นเป็นปัญหาก็สายเสียแล้ว ถ้าคนที่รู้เรื่องราวน่าจะพอตีความออกว่า โซ่ของ 2 ธุรกิจนั้นคืออะไร…
ถ้ากลับมามองที่คน แล้วไม่ใช่ตัวเรา เป็นเรื่องคนอื่นที่เขาติดโซ่ที่มองไม่เห็น ดีที่สุดอาจเพียงแค่ อุเบกขา (อุเบกขา ในความหมายผม มิใช่การที่ไม่สามารถกระทำ เมตตา กรุณา มุทิตา ได้จึงอุเบกขา หากแต่เป็นการทำ ทั้ง 3 ขั้นตอนอย่างครบถ้วนแล้วจึงควรวางอุเบกขา มิเช่นนั้นจิตมักคิดฝักใฝ่เช่นว่า ทำดีต้องได้ดี) นี่หมายถึงเพราะบางทีมันอาจจะยากที่จะไปบอกหรือพูดถึงสิ่งที่อาจเป็นปัญหาต่อเขา คล้ายๆ สล็อตออนไลน์
ที่สำคัญสุดคือพยายามมองตัวเอง โซ่ที่ว่านี้หากพูดถึงคน คงเปรียบกับการเป็นสุนัขมิได้ ที่จะถูกใครมาล่ามแล้วสิ้นปัญญาปลดพันธนาการตัวเอง แต่โซ่ที่ว่านี้เป็นเช่น “การยึดติด” จากตัวของบุคคลนั้นเอง ไม่ว่าเรื่องใด เพราะเป็นเรื่องยากที่จะไปกักขังความคิดจิตใจใครดังเช่นโซ่ตรวน นอกเสียจากความคิดจากการยึดติดของผู้นั้นเองที่ใครก็ปลดให้ไม่ได้เสียด้วย และเหตุหนึ่งที่หลายคนยังคง ยึดติดกับ “โซ่” นี่นั่นก็เพราะ ไม่เคยวิ่งจนสุดโซ่ฉันใด ก็ไม่เห็น “ความยึดติด” เป็นปัญหาฉันนั้น.. และแน่นอนว่า โซ่นี้แม้บางทีเห็น แต่ก็ไม่ได้เข้าใจมันจนกว่าจะได้กล้าเดินออกมาจนสุดโซ่ นั่นก็หมายถึงว่า ต้องลองกล้าที่จะเลิกยึดติด เลิกเชื่อสิ่งเดิม ๆ ดูบ้าง นั่นเอง..
ในบริบทหนึ่ง ความฉลาดอาจสะท้อนถึง ไหวพริบ เชาว์ปัญญา ความฉับไวทางความคิด ดูจะเป็นแนวใครดีใครได้ ใครไว ใครเด่น ใครเห็นคนนั้นได้โอกาส…
แต่การ “คิดเป็น” ย่อมมาจากประสบการณ์ และสิ่งสำคัญ คือ สติ กับการเรียนรู้ ดังที่ทราบดี ฉลาดแค่ไหนก็พลาดได้ แต่จะฉลาดหรือไม่ หากผิดพลาดหรือเกิดอะไรขึ้นแล้วไม่มีสติ ไม่เรียนรู้ ไม่ดูตัวเอง ก็ยากจะ คิดเป็น
ความฉลาดสร้างความได้เปรียบได้ง่ายในหลายโอกาส แต่การคิดเป็น สร้างความยั่งยืน ก้าวหน้า และความสมบูรณ์
เพราะหากฉลาดแต่คิดไม่เป็น เช่น ฉลาดแกมโกง ฉลาดแต่เรื่องเฉพาะหน้า ไปจนถึง “อวดฉลาด” ซึ่งแม้จะฉลาดจริง แต่ผลลัพธ์มันจะไม่สะท้อนความฉลาดเลยในอนาคต
แน่นอนว่า หากฉลาดและคิดเป็นด้วยคือสิ่งที่ดีมาก หรือในบางคนเขาบอกว่า “ฉลาดแล้วต้องเฉลียว” นั่นก็คล้ายกัน
แต่ก็เพราะเราไม่อาจฉลาดได้ทุกเรื่องทุกเวลา การคิดเป็นจึงสำคัญเสมอ
แต่ที่น่าห่วงที่สุดคือ ไม่ฉลาด แถมยังคิดไม่เป็น คนเช่นนี้เห็นทีจะผิดซ้ำซาก หลงทางไปตลอด มีอะไรก็คงไม่เหลือ มิใช่แค่ทรัพย์สิน เงินทอง แต่หลาย ๆ อย่างรวมทั้งอนาคต เพราะมีประสบการณ์ เจอสถานการณ์ใดแต่ “คิดไม่เป็น” เลย คนฉลาดมากแค่ไหน ก็ช่วยเขาไม่ได้หรอก…
เราฉลาดแค่ไหนจึงอาจไม่สำคัญ วันนี้ทบทวนหรือยัง เรื่องไหนที่เรายังคิดไม่ได้ คิดไม่เป็นเสียที…
|