กว่า 17 ปี แล้วที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้กลับมาเยือนประเทศไทยเลย หลังจากต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งหากย้อนดูช่วงเวลาดังกล่าวอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้เคยกล่าวไว้หลายครั้งว่าจะกลับมาประเทศไทยเพื่อต่อสู้คดีต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่จนแล้วตนรอดก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
แต่วันนี้(22 ส.ค. 66) นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางนักการเมืองและประชาชนที่มารอต้อนรับจำนวนมากโดยทันทีที่นายทักษิณเดินลงจากเครื่องบิน ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมารอรับ ควบคุมตัวขึ้นรถที่เตรียมไว้ เพื่อดำเนินขั้นตอนการควบคุมตัวศ่งศาลฎีกา-เรือนจำต่อไป
ทั้งนี้จุดประสงค์การกลับมาครั้งนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามีเหตุผลอันใด หรือ หวังผลทางการเมืองหรือไม่ เพราะได้เดินทางกลับไทยตรงกับวันที่โวหตนายกรัฐมนตรีของไทยแบบพอดิบพอดี แต่ที่แน่ชัดและชัดเจนที่สุดคืออดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้กลับคืนสู่ครอบครัวอันอบอุ่นแล้ว และยังมีมวลชนที่ชื่นชอบให้การต้อนรับอย่างดี สร้างปรากฏการณ์ให้กับสังคมไทยอีกเช่นเคย
ย้อนดูเส้นทางการเมืองของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมากที่สุด หลังก้าวลงจากอำนาจ
ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่สองในจำนวน 10 คนของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร มีชื่อเล่นว่า "น้อย" ส่วนชื่อ "แม้ว" เป็นฉายาที่เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) ตั้งให้
เส้นทางสู่การเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะพบว่าบุคคลที่อยู่เบื้องหลังและเป็นแรงผลักดันสำคัญก็คือ คุณบุญเลิศ ชินวัตร ผู้เป็นบิดานั่นเอง เนื่องจากในอดีตบิดาเป็น ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2512 - 2519 โดยเป็น ส.ส.สมัยแรกในยุครัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
หลังจากวางมือทางการเมืองได้สนับสนุนให้น้องชาย คือ นายสุรพันธ์ ชินวัตร (อาของ พ.ต.ท.ทักษิณ) ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน ซึ่งในระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเตรียมทหารนั้น บิดามักจะพาไปสัมผัสบรรยากาศการประชุมพรรคและการประชุมสภาฯอยู่เสมอ
เส้นทางการเมือง ก่อนก้าวเข้าสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรี
2518 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มงานการเมืองเป็นครั้งแรก โดยดำรงตำแหน่งเลขานุการของปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้เข้ามาอย่างเต็มตัว
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรมได้เชิญให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย
แต่ทำงานในตำแหน่งนี้ได้เพียง 101 วัน ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งก่อนเนื่องจากรัฐธรรมนูญขณะนั้น ระบุว่ารัฐมนตรีต้องไม่มีกิจการสัมปทานกับรัฐ ทั้งนี้ได้ลาออกจากตำแหน่งก่อนที่จะมีการตัดสินชี้ชัดในเรื่องดังกล่าว
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เขต 2 กรุงเทพมหานคร และผ่านการเลือกตั้งในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โดยมีคะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 1 ในเขตดังกล่าว ซึ่งในครั้งนั้นพรรคพลังธรรมได้เก้าอี้ ส.ส.ในสภาฯจำนวน 23 ที่นั่ง
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยรับผิดชอบงานด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนในสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ครั้งนั้นได้พยายามผลักดันการแก้ปัญหาจราจรอย่างเป็นระบบ รวมถึงประสานโครงการระบบขนส่งมวลชนให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอย่างสมบูรณ์ขึ้นhttp://saraney.com
|