[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โรงเรียนวชิรานุกูล
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ

Close
:) :D :(
:o :p ;)
:| x( :~
(ตัวแสดงอารมณ์)

link banner
e-Learning

พยากรณ์อากาศ
 


  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
เอาให้ชัด! อ.เจษฎ์ เทียบเปิดแอร์ 27 องศา ประหยัดกว่าจริง หลังสาวรีวิวทำแล้วค่าไฟขึ้น  VIEW : 135    
โดย 99

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 666
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 20
Exp : 94%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 101.109.152.xxx

 
เมื่อ : เสาร์์ ที่ 8 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2567 เวลา 13:22:18    ปักหมุดและแบ่งปัน

ประเด็นสำคัญที่ต้องคิดคือ คลิปการทดลองดังกล่าว ไม่มีรายละเอียดใดๆ เลยว่าที่ทำการทดลองไปหนึ่งเดือนนั้น ได้ควบคุมปัจจัยอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะจากเครื่องแอร์ พัดลม รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้าน ให้เหมือนกันตลอดทั้งสองเดือนที่นำมาเทียบกัน

ในขณะที่ ถ้าเป็นการทดลองโดยอยู่ในสภาวะควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้คงที่ และเปิดแอร์เป็นเวลานานเท่ากัน การตั้งค่าอุณหภูมิเครื่องแอร์ที่สูงขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 10% (ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง) ทำให้การตั้งค่าอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศที่ 27 องศาเซลเซียส จะประหยัดไฟฟ้ามากกว่าที่ 25 องศา

และการเปิดพัดลมช่วย ให้ลมปะทะร่างกาย ก็จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเย็นสบายมากขึ้นกว่าเดิมได้ถึง 2 องศาเซลเซียส .. จึงแนะนำให้เปิดแอร์ที่ 27 องศา+เปิดพัดลมเป่าตัว เพื่อให้ได้ "ความรู้สึก" เย็นสบายเหมือนเปิดแอร์ 25 องศาเซลเซียส ... พูดง่ายๆ คือ ให้แอร์สร้างอากาศที่เย็น แล้วใช้พัดลมเป่าเข้ามา ให้ร่างกายรับอากาศเย็นนั้น

และการเปิดพัดลมนานๆ นั้น ก็ไม่ได้จะส่งต่อค่าไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพราะเมื่อเทียบกับแอร์แล้ว พัดลมใช้ไฟฟ้าน้อยกว่ากันมาก ... โดยส่วนใหญ่แล้ว พัดลมไฟฟ้าขนาดใบพัด 16 นิ้ว เปิดลมเบอร์ 1 จะกินไฟแค่ประมาณ 40 วัตต์เท่านั้น / หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้าเปิดแอร์ขนาด 9000 bTU จะใช้ไฟฟ้าไป พอกับพัดลมขนาด 16 นิ้ว มากถึง 16 ตัว / หรือถ้าคิดแบบหยาบๆ เครื่องแอร์ 1 เครื่อง จะกินไฟตกชั่วโมงละประมาณ 1 หน่วย ขณะที่พัดลม ใช้ไฟฟ้าแค่ 0.05 หน่วยต่อชั่วโมงเท่านั้น

ดังนั้น จริงๆ แล้ว ถ้าจะทำการทดลองเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ ก็คงต้องทำกันโดยควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้คงที่ เช่น จำนวนชั่วโมงที่เปิดแอร์ในแต่ละวันต้องเท่าวัน ช่วงเวลาที่เปิดแอร์ก็ต้องเป็นช่วงเดียวกัน (กี่โมงถึงกี่โมง) เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก็ต้องไม่เปิดเพิ่มให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าแปรปรวนไปhttp://u-portal.org